วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

พ.ร.บ.เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์คืออะไร

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีเพื่อกำหนดความผิดในการกระทำที่มี ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์นี้ เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์วางตัก คอมพิวเตอร์พกพา แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบควบคุมไฟฟ้า น้ำประปา ธนาคาร ฯลฯ
       เราต่างใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แน่นอนว่าย่อมมีกลุ่มหรือบุคคลที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการกระทำความผิด หรือกระทำความผิดผ่านระบบเหล่านี้ เช่น ขโมยข้อมูล ป่วนข้อมูลและระบบให้เสียหาย การกระทำเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหม่ทุกวันนี้คนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตเป็นดังห้องสมุดขนาดใหญ่
โดยสรุปแล้ว ทุกวันนี้เราเลี่ยงไม่พ้นระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบตัวเรา และนั่นทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเรามากเช่นกัน
ความผิดที่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.
·       การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
·       การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์
        ทีผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ
·        การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
·        การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
·        การทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม
·       ข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
·        การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์
·        การจําหน่ายชุดคําสั่งทีจัดทําขึ้นเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ
        ในการกระทําความผิด
·        การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทําความผิดอื่น
·       การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ทีเป็นภาพของบุคคล


ผู้ให้บริการที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.
1.  ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์
2. ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
 พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
- ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์
หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service
Provider)

- ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ
ทีเรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ
web service เป็นต้น

ข้อมูลของผู้ใช้บริการ

ผู้ให้บริการทังทีเสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม ต้องเก็บข้อมูลเท่าทีจําเป็น เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อนามสกุล เลขประจําตัวประชาชน USERNAME
หรือ PIN CODE ไว้ ไม่น้อยกว่า 90 วันนับตังแต่การใช้บริการสิ้นสุดลงหากผู้ให้บริการไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการไว้ถือว่าทําผิดและอาจถูกปรับสูงถึง 50,000 บาทรวมถึงเว็บบอร์ดทังหลาย ซึงมีผู้มาโพสเป็นจํานวนร้อย -พัน รายต่อวัน เว็บมาสเตอร์ และผู้ดูแลโฮสติงหรือผู้ทําอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อาจเสียงต่อการระมัดระวังข้อความเหล่านั้น

พระราชบัญญัตินี้  จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปเพราะหากท่านทําให้เกิดการกระทําความผิดทางคอมพิวเตอร์(ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตังใจ)ก็อาจจะมีผลกับท่าน และทีสําคัญ คือผู้ให้บริการซึงรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆทีเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน นิสิต นักศึกษาในองค์กรผู้รับผิดชอบมีหน้าทีดูแลอย่างรอบคอบในฐานะ "ผู้ให้บริการ"

ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
ในฐานะบุคคลธรรมดาไม่ควรกระทําในสิงต่อไปนี้เพราะอาจจะทําให้ เกิดการกระทำความผิด"
1.    ไม่ควรบอก passwordแก่ผู้อื่น
2.     อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนทีเพื่อเข้าเน็ต
3.    อย่าติดตังระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือทีทํางานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
4.    อย่าเข้าสู่ระบบด้วยuser ID และ password ทีไม่ใช่ของท่านเอง
5.     อย่านํา user ID และ passwordของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
6.    อย่าส่งต่อซึงภาพหรือข้อความหรือภาพเคลื่อนไหวทีผิดกฎหมาย
7.     อย่า กด "remember me"หรือ "remember password"ทีเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะและอย่า log-in เพื่อทําธุรกรรมทางการเงินทีเครื่องสาธารณะ
8.    อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN)ทีเปิดให้ใช้ฟรีโดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล



ความผิดอาญาตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไปดู
    เจอคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10
,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเค้า แล้วบอกให้คนอื่นรู้      เจอคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20
,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดีๆ แล้วแอบไปล้วงข้อมูลของเขาออกมา
   เจอคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40
,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั ว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา     เจอคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60
,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขา เราดันมือบอนแก้    เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100
,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของเค้าทำงานอยู่ดีๆ เราดันยิง
packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan
    หรือ
worm หรืออะไรก็ตามเข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง
    เจอคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเลย เราก็ทำตัวเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้      เขาเบื่อหน่ายรำคาญ       เจอปรับไม่เกิน100
,000บาท
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้ว
    ทำให้เราๆ ท่านๆ บุคคลทั่วไปเกิดความเสียหาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200
,000บาท
    ก่อความเสียหายต่อความั่นคงของประเทศ เศษรฐกิจ และสังคม จำคุกตั้งแต่ 3 - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 60
,000บาท                ถึง300,000บาท และถ้าทำให้ใครตายก็จะปรับโทษเป็น  จำคุกตั้งแต่ 10ปีถึง 20ปี
9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใครๆทำเรื่องแย่ๆใน ข้อข้างบนได้      เจอคุกไม่เกินปีนึง หรือปรับไม่เกิน 20
,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10.โป๊
,โกหก, ปลอมแปลง,กระทบความมั่นคง,ก่อการร้าย, และส่งต่อข้อมูลทั้งๆที่รู้ว่าผิดตามที่กล่าวมาข้างต ้น
    เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100
,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วสนับสนุน/ยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100
,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เท่ากับคนที่ทำเลย
12. ใครอยากเป็นศิลปินข้างถนน ที่ชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อแล้วเอาไปโชว์ผลงานบนระบบคอมพิวเตอร์ให้ใครต่อใครดู เตรียมใจไว้เลยมีสิทธิ์โดน
เจอคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60
,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
13. เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย อย่าคิดว่ารอด โดนแหงๆ ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน .



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น